เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ ถุงพลาสติก มีกี่แบบ กี่ชนิด

 


บรรจุภัณฑ์ประเภทถุงลามิเนต ,ถุง Food Grade คือ ด้วยการผ่านชั้นฟิล์มเลเยอร์หลายชั้น จึงทำให้เกิดรูปแบบถุงในการบรรจุที่หลากหลาย ถุงลามิเนต หรือถุง Food Grade จึงทำให้ลูกค้าที่กำลังมองหาบรรจุภัณฑ์ที่ได้มาตรฐาน ต้องเป็นประเภทถุง Food Grade เท่านั้น ไม่มีสารเจือปน บรรจุอาหารสด บรรจุอาหารแห้ง บรรจุของเหลว บรรจุเม็ดยา บรรจุเมล็ด ต่าง ๆ บรรจุครีม บรรจุสารเคมี บรรจุภัณฑ์ ถุงพลาสติก ประเภทถุงลามิเนีต , ถุง Food Grade ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของบรรจุภัณฑ์ที่ได้รับความนิยมมาก เพราะด้วยบรรจุภัณฑ์ประเภทถุงลามิเนต มีต้นทุนที่ไม่สูงมาก แต่คุณภาพที่รับได้อย่างคุ้มค่า

ถุงพลาสติก ทำจากอะไร


รู้หรือไม่ว่า ถุงพลาสติกนั้น มีที่มาจากน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ โดยมาจากสารตั้งต้นก็คือ ก๊าซ Ethylene และ Propylene ซึ่งได้มาจากระหว่างกระบวนการกลั่นน้ำมันดิบ เมื่อนำมาทำปฏิกิริยากันจนได้เป็นสายโซ่ยาว ที่เรียกว่า โพลิเมอร์ เมื่อนั้นโพลิเมอร์ก็จะถูกนำไปสังเคราะห์ด้วยกระบวนการต่าง ๆ อีกขั้นตอนหนึ่ง จนขึ้นรูปเป็นเม็ดพลาสติก ซึ่งจะถูกนำไปหลอมรวมขึ้นรูปเป็นถุงพลาสติกในรูปแบบต่าง ๆ ต่อไป โดยถุงพลาสติกก็จะถูกผลิตออกเป็นอีกหลายชนิด ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติที่ต้องการ ในการใช้เพื่อบรรจุภัณฑ์


ถุงพลาสติก มีกี่ชนิด

ด้วยสารตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตพลาสติกมีความแตกต่างกัน รวมถึงการเพิ่มคุณสมบัติให้มีการใช้บรรจุภัณฑ์ได้หลากหลาย ทนทาน และมีความสวยงามมากขึ้น ทำให้ถุงพลาสติกมีหลายชนิดมากในปัจจุบัน แบ่งออกได้ดังนี้

1. ถุงพลาสติกใส PE (Polypropylene)

ลักษณะของถุง PE มีคุณสมบัติแข็งแรง เหนียว ทนทาน ไม่ฉีกขาดง่าย และยืดหยุ่นในระดับหนึ่ง สีค่อนข้างใส สามารถกันความชื้นมิให้ผ่านเข้าออกได้ ด้วยตัวถุงเคลือบด้วยเนื้อ PET อีกชั้นหนึ่ง จึงทำให้จัดเป็น ถุงพลาสติกชนิดฟู้ดเกรด ( Food Grade ) สามารถใช้บรรจุอาหารต่าง ๆ ได้ และนำมาผลิตเป็นถุงซีลสุญญากาศแบบเรียบ สำหรับถนอมอาหาร นอกจากนี้ ยังนิยมนำมาใช้เป็น ถุงยา ถุงใส่ของฝาก ถุงใส่เสื้อผ้า ถุงใส่เครื่องประดับ ถุงใส่ขนมต่าง ๆ ด้วย

2. ถุงพลาสติก PA (Polyamide)

หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไนล่อน (Nylon) ตัวพลาสติกจะมีลักษณะใส เมื่ออยู่ในสภาพฟิล์ม และเมื่อนำมาขึ้นรูป จะมีความทึบแสง และมีสีขาว ไม่มีกลิ่น รสชาติ ไม่เป็นอันตราย เป็นพลาสติกชนิดที่มีความสามารถในการทนความร้อนได้สูง มีจุดหลอมเหลวที่ 180 – 200°C ส่วนอุณหภูมิในการใช้งานอยู่ที่สูงสุด 120°C มีความแข็งแรง ทนทาน เหนียว ทนต่อแรงกดทับ ทนต่อแรงดึง ได้ดี ทนทานต่อการกัดกร่อน เสียดสี ยืดหยุ่น ทนต่อการบิด พับงอได้เป็นอย่างดี ไม่เสียรูปทรงได้ง่าย ดูดซับความชื้นน้อย ช่วยป้องกันการซึมผ่านของ ของเหลว ไขมัน ออกซิเจนและกลิ่นได้ดี ด้วยคุณสมบัติดังกล่าว ทำให้ถูกนำมาผลิตเป็นถุงซีลสุญญากาศแบบลายนูน สำหรับถนอมอาหาร

3. ถุงพลาสติก PP (Polypropylene)

ลักษณะของถุงพลาสติก PP คือ มีความใส มันวาว เป็นพลาสติกที่เบาที่สุด สามารถทนทานต่อการขีดข่วน ไม่เสียรูปง่าย ป้องกันไอน้ำและออกซิเจนซึมผ่านได้ มีจุดเด่นคือ ทนต่อความร้อนถุงได้ถึง 100 องศา  และมีจุดหลอมตัวที่ 165 องศา แต่ไม่สามารถทนต่อความเย็น (แช่แข็งไม่ได้) จึงนิยมเรียกถุงพลาสติกชนิดนี้ว่า ถุงร้อน

4. ถุงพลาสติก LDPE (LOW DENSITY POLYETHYLENE)

LDPE ลักษณะมีสีขาว ลักษณะขุ่น โปร่งแสง มีความลื่นมันในตัว แต่ใสไม่เท่าพลาสติกชนิด PP มีจุดเด่นคือ ทนความเย็นได้ถึง -50 องศา และมีความเหนียวและยืดหยุ่นได้ดี จึงทนทาน ไม่กรอบแตกง่าย ด้วยคุณลักษณะเด่นที่ทนต่อความเย็นได้ดี จึงนิยมเรียกพลาสติกชนิดนี้อีกอย่างหนึ่งว่า ถุงเย็น

5. ถุงพลาสติก HDPE (High density polyethylene)

เนื้อถุงพลาสติก HDPE มีความหนาแน่นสูง แข็งแรง มีสีขาวขุ่น โปร่งแสง สามารถนำกลับมาหลอมใช้ได้ใหม่ ทนต่อความร้อนได้ถึง 100 องศา ทนความเย็นได้ประมาณ 0 องศา (ไม่เหมาะกับการแช่ช่องฟรีซ) ทนทานต่อสารเคมี และตัวทำละลาย หลายชนิด ถูกนำมาใช้บรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ถุงกาแฟ ถุงบะหมี่ ขวดน้ำดื่ม ของเด็กเล่น เครื่องใช้ในบ้าน ถุงหูหิ้ว ถุงขยะ

6. พลาสติก LLDPE (Linear low density polyethylene) ฟิล์มหด ถุงน้ำแข็ง

LLDPE เป็นพลาสติกหนาแน่นต่ำเชิงเส้น ตัวถุงจะมีลักษณะใสและมีความเหนียวกว่า LDPE และ HDPE แต่จะนิ่ม และเหนียวกว่า LDPE และ HDPE มีคุณสมบัติในการทนต่อความเย็น ตอบสนองการใช้งานหลายประเภท เช่น งานฟิล์ม งานฉีด งานเข้าแบบ และงานหมุนเข้าแบบ แต่ได้รับการแปรรูปเป็นฟิล์มถึง 65% ใช้ทำฟิล์ม ฟิล์มหด ถุงบรรจุสิ่งของที่มีน้ำหนักสูง ถุงบรรจุเสื้อผ้า ถุงใส่ผลไม้ ผัก และมักถูกใช้งานที่อุณหภูมิต่ำ ๆ เช่น บรรจุอาหารแช่เย็น หรือ แช่แข็ง น้ำแข็ง อาหารแช่เย็น นำมาทำท่อน้ำ  เคลือบสายไฟ และของเด็กเล่น

7. พลาสติก IPP (Injec polypropylene) ถุงเบเกอรี่

IPP พลาสติกมีลักษณะคล้ายถุง PP แต่มีความใส เนื้อหนา เหนียว แข็งแรง และ เงากว่า นิยมนำมาขึ้นเป็นถุง พับข้าง จีบด้านข้าง ถุงประเภทนี้เหมาะสำหรับบรรจุขนม คุ้กกี้ และเบเกอรี่ต่างๆ

8. ถุงพลาสติก OPP (Oriented polypropylene) ถุงแก้ว

OPP มีคุณสมบัติ ทนอุณหภูมิสูงได้พอสมควร แต่ทนอุณหภูมิต่ำได้ไม่ดี กันความชื้นและอากาศได้พอสมควร แต่ผิวฟิล์มค่อนข้างกรอบ มีความใส-วาวเป็นพิเศษ มีความกรอบ และแข็ง แต่รับน้ำหนักได้ไม่ดี ถุงประเภทนี้เหมาะสำหรับบรรจุสินค้าที่ต้องการเน้นให้เห็นตัวผลิตภัณฑ์ เช่น คุ้กกี้ เบเกอรี่ ของกิ๊ฟช็อป เสื้อผ้า

การเลือกใช้ถุงพลาสติก


1. ใส่อาหารที่มีความร้อน

ควรเลือกใช้ถุงพลาสติก PP เพราะสามารถทนต่อความร้อนได้ถึง 100 องศา  และมีจุดหลอมตัวที่ 165 องศา จึงใส่อาหารที่มีความร้อนได้เป็นอย่างดี เช่น ถุงน้ำแกง ถุงแกงต่าง ๆ ในขณะที่ถุง HDPE ก็ใช้ได้ แต่ต้องเป็นอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีความร้อนไม่มากนักเช่น ถุงบะหมี่ ถุงก๋วยเตี๊ยวแห้ง ถุงกับข้าวทั่วไป ฯลฯ สำหรับการเลือกซื้อให้สังเกตแพคถุงพลาสติกที่มีฉลากสีเขียว โดยถุง PP จะมีลักษณะขาวใส แต่ถ้าเป็นถุง HDPE จะมีลักษณะขาวขุ่น


2. ใส่เครื่องดื่มหรือของหวานที่มีความเย็น

หากคุณเปิดร้านขายของชำ แล้วขายถุงเครื่องดื่มแบบพกพา หรือ ใส่ของหวานที่มีความเย็น เช่น ไอศกรีม น้ำแข็งใส ซึ่งต้องมีคุณสมบัติทนและเก็บความเย็น เพื่อไม่ให้เครื่องดื่มหรือของหวานนั้น ๆ ละลายง่าย ควรเลือกใช้ถุงพลาสติก LDPE และ LLDPE เพื่อให้เครื่องดื่มหรือของหวานเหล่านั้น แม้ผ่านความร้อนในอุณหภูมิปกติ ก็จะยังคงสภาพได้อยู่ โดยเวลาเลือกซื้อให้สังเกตแพคถุงพลาสติกที่มีฉลากสีฟ้า


3. ใส่ขนมและเบเกอรี่

การบรรจุขนมและเบเกอรี่ในถุงพลาสติก เพื่อให้มีความสวยงาม น่ารับประทาน จะต้องเห็นวัตถุดิบได้อย่างชัดเจน และควรมีความมันวาว เนื้อเหนียว แข็งแรงด้วย เพื่อให้สินค้าดูมีราคา การใช้ถุงพลาสติก จึงควรเลือกใช้ถุงพลาสติกแบบ IPP หรือ OPP โดยฉลากถุง IPP นั้นจะเป็นสีฟ้า ส่วน OPP เวลาเลือกซื้อ สามารถสังเกตได้จากความหนา มีความใส วาว แข็งกรอบ กว่าถุงชนิดอื่น


4. เก็บอาหารไว้ในช่องแช่แข็ง

เพื่อให้อาหารและวัตถุดิบที่เหลือจากการรับประทานและประกอบอาหารในแต่ละวัน สามารถเก็บไว้ทานและใช้ได้ในวันถัดไป หากต้องการเก็บโดยการบรรจุใส่ถุงพลาสติก ควรเลือกใช้ถุงพลาสติก LDPE และ LLDPE เป็นหลัก เนื่องจากมีคุณสมบัติทนต่อความเย็นได้ดี สามารถทนต่อความเย็นได้ในอุณหภูมิติดลบ เหมาะกับการเก็บรักษาไว้ในช่องฟรีซหรือช่องแช่แข็ง โดยเวลาเลือกซื้อให้สังเกตแพคถุงพลาสติกที่มีฉลากสีฟ้า


เคล็ดลับในการใช้ถุงพลาสติกเพื่อถนอมอาหาร

การถนอมอาหาร ทั้งในครัวเรือน ธุรกิจ หรือระดับอุตสาหกรรม มักใช้ถุงพลาสติกในการเก็บรักษากันเป็นส่วนใหญ่ เพราะมีราคาถูกและยังประหยัดพื้นที่ในการจัดเก็บ ช่วยลดต้นทุนและถนอมอาหารได้ดี ไม่แพ้บรรจุภัณฑ์อื่น ๆ ซึ่งหากต้องการเก็บอาหารไว้ใช้ได้นาน ถุงพลาสติก PE และ PA แบบถุงซีลสุญญากาศ ถือว่าตอบโจทย์มากที่สุด เพราะถนอมอาหารได้ดี ป้องกันอากาศเข้าได้อย่างมิดชิด ด้วยแถบซีลที่แน่นหนา จึงช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการทำให้วัตถุดิบและอาหารเกิดการเน่าเสียได้

โดยการใช้ถุงซีลสุญญากาศ กับเครื่องซีลสูญญากาศยังช่วยอำนวยความสะดวกต่าง ๆ ในเรื่องของการบรรจุ การจัดส่ง และ ประหยัดต้นทุน ในการเก็บสินค้าอีกด้วย เพราะสามารถบรรจุได้ทั้งของแห้งและของเปียก ทั้งเนื้อสัตว์ เนื้อหมักซอส พืชผัก ผลไม้ ธัญพืชต่าง ๆ สามารถทนความร้อนได้สูงเกิน 100 องศา และยังทนต่อความเย็นได้ถึง -40 องศาเซลเซียสเลยทีเดียว ทำให้เหมาะมาก ๆ สำหรับพ่อบ้านแม่บ้าน และผู้ประกอบการธุรกิจร้านอาหารยุคใหม่ ที่ต้องการถนอมอาหารหรือวัตถุดิบ ให้เก็บรักษาได้นาน สามารถนำอาหารมาทานใหม่ หรือเก็บไว้ใช้งานได้ในระยะยาว


แสดงความคิดเห็น

0 ความคิดเห็น